เรื่องราวของ TM นั้น ไม่ได้เป็นเพียงแค่เรื่องของผลลัพธ์ที่เกินธรรมดาเท่านั้น แต่ยังเป็นเรื่องของการวิจัยที่มีคุณภาพสูงเกินธรรมดา ที่สามารถยืนยันผลลัพธ์เหล่านี้ได้อีกด้วย
ทุกวันนี้ ใครๆก็สามารถทำการวิจัยและพิสูจน์สิ่งที่ต้องการจะพิสูจน์ได้ทั้งนั้น อย่างไรก็ตาม ในสังคมวิทยาศาสตร์ มีอยู่ 4 ปัจจัย ที่นิยามความน่าเชื่อถือของผลการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ผลการวิจัยเรื่องการฝึกจิต TM ได้รับคะแนนสูงในทั้ง 4 ปัจจัย ดังนี้
1. คุณภาพของตัวงานวิจัยเอง
2. การยืนยันผลที่เหมือนกันโดยการวิจัยอิสระอื่นๆ
3. การตีพิมพ์ในวารสารทางวิทยาศาสตร์
4. โอกาสในการเป็นเรื่องบังเอิญ
ในช่วงระหว่าง 40 ปีที่ผ่านมา มีมากกว่า 600 ผลการศึกษาค้นคว้า ทีดำเนินการในมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัย มากกว่า 250 แห่ง ใน 35 ประเทศทั่วโลก (รายชื่อของมหาวิทยาลัย) ได้ยืนยันถึงผลลัพธ์ที่เป็นประโยชน์ในหลายๆด้านของชีวิต จากการฝึกจิต TM นี่หมายความว่า ผลลัพธ์ในหลายๆด้านได้เป็นที่ยืนยันแล้วจากผลการศึกษาค้นคว้าอิสระทั่วโลก ในหลายๆกรณี ได้มีการแสดงผลการศึกษาการทบทวนหลักฐานจากข้อมูลทางสถิติที่รวบรวมขึ้น ซึ่งคำนวนให้เห็นผลลัพธ์เฉลี่ยของการศึกษาค้นคว้าต่างๆ หากการวิเคราะห์อภิมานเหล่านี้ ยังแสดงให้เห็นถึงผลลัพธ์ด้านบวก ความน่าเชื่อถือของผลลัพธ์ก็สูงขึ้นด้วย การวิเคราะห์อภิมานเช่นนี้ ได้ถูกกระทำขึ้นโดยผลลัพธ์จาก TM ในเรื่องของ ความดันโลหิตสูง (9 การศึกษาค้นคว้าเรื่อง TM) การเสพติด (19 การศึกษาค้นคว้าเรื่อง TM) ความวิตกกังวล (35 การศึกษาค้นคว้าเรื่อง TM) ความตระหนักในศักยภาพของตน (18 การศึกษาค้นคว้าเรื่อง TM) ในทุกๆกรณี ผลลัพธ์ของ TM นั้นยิ่งใหญ่มากกว่าหลักการอื่นๆที่เคยมีการวิจัยมา และมากกว่าถึง 2-8 เท่าเลยทีเดียว
แนวทางโดยทั่วไปจากกว่า 600 การศึกษาค้นคว้า แสดงให้เห็นว่า:
– ยิ่งคุณภาพของการวิจัยเรื่อง TM สูงขึ้น (ซึ่งมีปัจจัยภายนอกเพียงเล็กน้อยที่มีอิทธิพลต่อผลลัพธ์) ก็ยิ่งมีแนวโน้มที่จะได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้น
– บรรดานักวิจัยที่ไม่ได้เข้าร่วมกับองค์กร TM มีแนวโน้มที่จะได้ผลลัพธ์แบบเดิมหรือดีกว่านักวิจัยที่มีส่วนร่วมทางใดทางหนึ่งด้วยซ้ำ
–คนที่มีความคาดหวังต่ำเกี่ยวกับการฝึก TM ของพวกเขา ได้ผลลัพธ์เช่นเดียวกับคนที่มีความคาดหวังสูง และผลลัพธ์มีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ขณะที่ผลในการคาดหวังแสดงให้เห็นถึงการลดลงอย่างชัดเจนเรื่อยๆ
การตีพิมพ์ในวารสารทางวิทยาศาสตร์
ผลการวิจัยเรื่อง TM ได้ถูกตีพิมพ์ในวารสารทางวิทยาศาสตร์กว่า 350 ฉบับ
วารสารทางวิทยาศาสตร์มีบทบาทสำคัญมากในวงการวิทยาศาสตร์ มันทำหน้าที่เสมือนเครื่องกรองที่คอยปกป้องวิทยาศาสตร์จากการศึกษาค้นคว้าด้อยคุณภาพ การศึกษาค้นคว้าจะได้รับความสำคัญอย่างจริงจังในโลกวิทยาศาสตร์ ก็เมื่อได้มีการตีพิมพ์ลงในวารสารทางวิทยาศาสตร์เท่านั้น
ก่อนที่วารสารจะยอมตีพิมพ์ผลการวิจัยใดๆ ผลการวิจัยนั้นจะต้องผ่านการกระบวนการที่เรียกว่า “การทบทวนโดยผู้รู้เสมอกัน” เสียก่อน นั่นหมายความว่า ได้มีการทบทวนอย่างรอบคอบโดยผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้นๆ ผู้ซึ่งลงมติว่าผลการวิจัยนั้นผ่านมาตรฐานทั้งหมดและมีคุณภาพสูงเพียงพอหรือไม่ ยิ่งวารสารมีชื่อเสียงเท่าไร กระบวนการนี้ก็ยิ่งต้องมีความรอบคอบมากขึ้นเท่านั้น เพราะสิ่งที่พวกเขาตีพิมพ์ มีส่วนกับชื่อเสียงของพวกเขา
ผลการวิจัยเรื่องวิธีการฝึกจิต TM ได้รับการตีพิมพ์ในสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆมากกว่า 350 แห่ง (รายชื่อสื่อสิ่งพิมพ์)โดยวารสารวิชาชีพต่างๆมากกว่า 160 ฉบับทั่วโลก รวมถึงวารสารที่มีชื่อเสียงมากที่สุดเกือบทั้งหมดอีกด้วย (รายชื่อวารสาร) นี่คือตัวเลขที่สูงอย่างผิดธรรมดาของการตีพิมพ์เกี่ยวกับเรื่องเพียงเรื่องเดียว
โอกาสในการเป็นเรื่องบังเอิญ
บ่อยครั้งที่นักวิจัย TM มีความน่าจะเป็นที่น้อยกว่า (=ดีกว่า) 50 ถึง หนึ่งล้านเท่าของมาตรฐาน
ในหลักการฟิสิกส์ มันง่ายมากที่จะบ่งชี้เหตุและผล แต่ในหลักมนุษยศาสตร์นั้น มันเป็นเรื่องที่ยากกว่า เพราะผู้คนมักจะถูกแสดงออกมาด้วยกฎเกณฑ์หลายๆด้านที่แตกต่างกันออกไป นี่เป็นเหตุผลที่ว่า ทำไม “ความน่าจะเป็น” ซึ่งเป็นการคำณวนเชิงสถิติของโอกาสที่ผลลัพธ์นั้นจะเป็นสาเหตุเนื่องมาจากความบังเอิญแทนที่จะเป็นสมมติฐาน นั้นสำคัญมากที่จะเป็นตัวกำหนดความน่าเชื่อถือของผลลัพธ์ใดๆก็ตาม โดยทั่วไปแล้ว “ความน่าจะเป็น” ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญพอๆกับหรือมากกว่าผลของตัวมันเองเสียอีก
เรื่องนี้ฟังดูมีเหตุผลมาก เมื่อนักวิทยาศาสตร์จ่ายยาให้คนๆหนึ่งและกล่าวว่ามันจะทำให้เขามีความสุขขึ้น และวันต่อมา คนๆนั้นก็รู้สึกมีความสุขมากขึ้นเล็กน้อย แต่เขาก็ยังไม่สามารถกล่าวได้อย่างมั่นใจว่าเป็นผลมาจากยาหรือไม่ บางทีเขาอาจจะได้รับการเลื่อนตำแหน่งในที่ทำงาน บางทีเขาเอาจจะตกหลุมรัก หรือบางทีมันอาจจะเป็นผลกระทบของยาหลอกก็เป็นได้ แต่ถ้าหากเราจ่ายยาให้กับคน 100 คน และโดยทั่วไป มีอัตราการเพิ่มขึ้นเล็กน้อยของความสุขใน100 คน (= ผลที่สอดคล้องกัน) ดังนั้น โอกาสที่มันจะเป็นเรื่องบังเอิญก็จะต่ำลง ถ้าเราเห็นว่าคนทั้ง 100คนนั้น รู้สึกมีความสุขขึ้นมากกว่าที่พวกเขาเคยรู้สึกมาก่อนหน้านี้ (= ผลขนาดใหญ่) เราก็สามารถกล่าวด้วยความมั่นใจอย่างสูงว่า มันอาจจะไม่ใช่เรื่องบังเอิญ
มาตรฐานในวงการวิทยาศาสตร์มีอยู่ว่า นักวิทยาศาสตร์จะต้องมั่นใจอย่างน้อย 95% ว่ามันไม่ใช่เรื่องบังเอิญ ซึ่งจะถูกแสดงให้เห็นเป็น p<.05 คือ มีความน่าจะเป็นน้อยกว่า 5 ในร้อย ยิ่งมีความสอดคล้องกัน (=น่าเชื่อถือมากขึ้น) และผลที่เด่นชัดมากขึ้นเท่าใด โอกาสที่มันจะเป็นเรื่องบังเอิญก็น้อยลงเท่านั้น และค่าความน่าจะเป็นก็น้อยลงด้วยเช่นกัน
ตำราเก่าแก่ได้บรรยายถึงการฝึกจิตTM ว่าเป็นการฝึกขั้นสูงสุดของมนุษย์ และเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่งในการพัฒนาศักยภาพอย่างเต็มขั้นของมนุษย์ แต่กว่าหลายศตวรรษแล้ว ที่มวลมนุษยชาติไม่เคยได้รับรู้ถึงประสบการณ์นี้เลย เพราะว่าวิธีที่จะไปถึงจุดนั้น (การทำสมาธิ) ได้ถูกนำไปตีความแบบผิดๆโดยสิ้นเชิง ถ้าหากมันเป็นเรื่องจริงที่ว่าการฝึกจิต TM เป็นการค้นพบวิธีที่จะล่วงพ้น (Transcend) และพัฒนาศักยภาพของนุษย์อย่างเต็มขั้นที่ได้ผลจริงๆ มันก็ควรจะให้ผลลัพธ์ที่ค่อนข้างจะพิเศษด้วยเช่นกัน หรือแม้แต่ผลลัพธ์ที่ยังไม่มีผู้ใดเคยเห็นมาก่อนด้วยซ้ำ ค่าความน่าจะเป็นที่เล็กน้อยอย่างไม่น่าเชื่อ ที่ปรากฏมาพร้อมกับผลการศึกษาเรื่อง TM จำนวนมหาศาล ซึ่งโดยมาก มักจะน้อยกว่า 50 ถึง 1 ล้านเท่า (=ดีกว่า) ของมาตรฐาน (p<.001 ถึง p<.000000001) นั้น ดูท่าว่าจะยืนยันได้ว่าผลลัพธ์มักจะพิเศษอย่างแท้จริง