นับเป็นหลักการทางภูมิปัญญา ที่ยอมรับโดยทั่วไปเกี่ยวกับการทำสมาธิ โดยถือว่าเป็นวิธีการที่จิต (mind) ประสบความสำเร็จในการเข้าถึงความเงียบภายใน ด้วยการบังคับจิต ให้ปล่อยผ่าน ไม่ใส่ใจถึงเสียง หรือสิ่งที่มองเห็น หรืออาจเป็นเทคนิคอื่นๆ อย่างเช่น การสร้างภาพในจิตแบบเร็วๆ จนรู้สึกเบื่อกับเรื่องนี้ และต้องการที่จะไปเรื่องอื่น แต่เราจะบอกว่า “ไม่เน้นที่จะอยู่ที่เรื่องนี้”
เมื่อถึงจุดที่ความคิดของเราเหนื่อยมาก จากการที่ต้องใช้ความพยายามที่จะต้องคอยเฝ้าดู จนอาจจะถึงจุดที่จิตได้มีประสบการณ์ที่ลึกซึ้งกว่า ด้วยความคิดที่เหนื่อยมาก ประสบการณ์ที่ได้จึงมีความไม่ชัดเจนมากนัก
กระบวนการเช่นนี้ต้องใช้ความพยายามอย่างมากและต้องมีระเบียบวินัยและภูมิปัญญาในการปฏิบัติ ดังนั้นจึงเป็นเรื่องของพระสงฆ์หรือนักบวชเท่านั้นที่จะสามารถใช้เวลาหลายๆชั่วโมงในแต่ละวัน ความคาดหวังในการทำสมาธิว่าจะได้มีประสบการณ์สูง มีวิธีการเข้าถึงประสบการณ์ดังกล่าวไว้ในหลายโอกาส แต่ผลที่ออกมาจากการใช้งานจริงนั้นมีน้อยมากสำหรับการดำเนินชีวิตประจำวันของบุคคล มันเป็นเรื่องยากมากที่จะเข้าถึงประสบการณ์ที่ลึกซึ้งนั้น
ในปี ค.ศ. 1955 มีนักวิทยาศาสตร์หนุ่มชาวอินเดียท่านหนึ่ง ที่มาจากเทือกเขาหิมาลัยในอินเดีย ท่านได้ทำให้ความเข้าใจในการทำสมาธิแตกต่างไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิง หลังจากจบการศึกษาในศาสตร์ความรู้ทางตะวันตกด้านวิทยาศาสตร์ ท่านได้ใช้เวลา 13 ปี คอยติดตามและอยู่รับใช้บรมครูทางพระเวทที่ยิ่งใหญ่ที่สุดท่านหนึ่งในเวลานั้น และนั่นเป็นช่วงเวลาที่ท่านได้เรียนรู้ถึงการทำสมาธิที่แท้จริงควรจะเป็นเช่นไรจากบรมครูท่านนี้
จากการศึกษาความรู้เหล่านี้กับบรมครูของท่าน และจากประสบการณ์โดยตรงของตัวนักศึกษาหนุ่มท่านนี้เอง ได้เรียนรู้ว่า การเข้าถึงความเงียบสงบภายในช่วงฝึกสมาธิ จิตของเราไม่ควรถูกบังคับให้เข้าถึงความเงียบนั้น แต่แท้ที่จริงแล้ว จิตสามารถมีประสบการณ์เข้าถึงแหล่งของความเงียบอันสร้างสรรค์และมีพลังที่ไร้ขีดจำกัดที่อยู่ภายในด้วยตัวของจิตเอง
ด้วยความเป็นธรรมชาติ จิตจะถูกดึงไปสู่ความรู้สึกที่มีความสุขที่มากขึ้น ในการมองหาความสุขในโลกสัมพัทธ์ บ้านหลังใหญ่ หรือตำแหน่งการงานที่สูงขึ้น การที่จิตใฝ่หาความสุขที่เพิ่มมากขึ้นนั้นเป็นธรรมชาติที่แท้จริงของจิต ในขณะฝึกสมาธิ จิตจะเคลื่อนไปในทิศทางที่มีความสุขที่เพิ่มมากขึ้นอย่างเป็นธรรมชาติ จิตต้องการเคลื่อนไปหาแหล่งความสุขที่ไม่มีความสิ้นสุด แหล่งของความเงียบของจิตบริสุทธิ์ จิตจะเคลื่อนไปเมื่อใดก็ตามที่ได้รับโอกาสโดยไม่ต้องใช้ความพยายามหรือการบังคับให้จิตเคลื่อนที่ไป แต่จิตเคลื่อนไปเองอย่างอัตโนมัติด้วยความเป็นธรรมชาติของจิตเอง เราเพียงกำหนดทิศทางที่ถูกต้องแล้วปล่อยให้จิตได้ทำสิ่งนั้นเอง
วิธีการที่เป็นธรรมชาติ ที่นักวิทยาศาสตร์หนุ่มท่านนี้ใช้ถือว่าเป็นเทคนิคของการทำสมาธิ ที่เรียกว่าเป็นเทคนิคเพราะเป็นการก้าวข้ามการฝึกสมาธิแบบเดิมๆที่เข้าใจกันอย่างแท้จริง และมันทำได้มากกว่า เป็นกระบวนการที่เหนือกว่าวิธีการ อื่นๆที่ว่าดีที่สุดแล้ว ที่สามารถเข้าถึงแหล่งของความเงียบสงบสมบูรณ์ของจิต แหล่งของจิตสำนึกอันบริสุทธิ์ โดยท่านได้รับเทคนิคนี้จากบรมครูพระเวทของท่าน และด้วยการที่ท่านเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่เป็นความรู้ทางโลกตะวันตก จึงมีความพร้อมในองค์ความรู้ที่สามารถวิเคราะห์กระบวนการที่เกิดขึ้นของการฝึกสมาธิในแบบที่ว่านี้ สามารถจัดทำโครงสร้าง ที่มีรูปแบบ มีเกณฑ์มาตรฐานสามารถวัดผลเป็นรูปธรรมที่เกิดขึ้นได้ แม้การฝึกสมาธิจะเป็นเรื่องที่เป็นนามธรรมก็ตาม และเมื่อผู้เรียนผ่านเกณฑ์ ก็สามารถนำเทคนิคการฝึกมาปฏิบัติเองที่บ้านได้ โดยนักวิทยาศาสตร์ท่านนี้ได้ยืนยันเสมอมาว่า ท่านสอนเทคนิคนี้ในนามของบรมครูของท่าน ไม่ได้ในนามของตัวท่านเอง
นักวิทยาศาสตร์หนุ่มท่านนี้ได้รับขนานนามว่า มหาริชี มเหช โยคี และเทคนิคนี้มีชื่อว่า เทคนิค TM (Transcendental Meditation) ต่อมาเมื่อท่านได้จัดโครงสร้างการเรียนการสอนเทคนิคนี้ได้อย่างสมบูรณ์ ท่านจึงจัดให้เทคนิคนี้อยู่ในโครงสร้างฝึกการอบรมครู ที่จะช่วยให้ครูผู้สอนสามารถสอนเทคนิค TM ได้อย่างถูกต้อง เหตุผลที่เทคนิคที่เป็นธรรมชาตินี้ได้เคยหายไปก็เพราะขาดครูผู้สอน เพราะวิธีการสอนทำสมาธิที่แท้จริงได้อย่างสมบูรณ์แบบนั้นยาก เพื่อให้ได้ความเป็นธรรมชาติและรู้สึกง่ายในการปฏิบัติ ให้มีประสบการณ์ที่เป็นธรรมชาติอย่างลึกซึ้ง จึงมีความจำเป็นที่ผู้เรียนจะต้องได้รับคำแนะนำจากครูผู้สอนที่มีประสบการณ์ (และนีคือเหตุผลที่ TM ไม่สามารถเรียนรู้จากหนังสือ) โดยหลักสูตรการอบรมครูTM จะมีระยะเวลาของหลักสูตรเกือบ 6 เดือน มีการศึกษาวิจัยและได้รับการพิสูจน์ถึงผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นมากมายทั่วโลก และจากประสบการณ์ของผู้คนทั่วโลกมากกว่า 6 ล้านคนที่เรียนรู้เทคนิคTMว่าเป็นสิ่งที่ง่ายที่จะเรียนรู้ และมีความพึงพอใจในการปฏิบัติทันที โดยส่งผลให้กับทุกๆด้านของชีวิต นี่คือการทำสมาธิที่แท้จริงที่ควรจะเป็นมากกว่าเพียงแค่วิธีการผ่อนคลาย มันควรเป็นวิธีการกลับคืนสู่ตัวตนที่แท้จริงตามธรรมชาติของเรา(ดู in contact with our higher self).
ที่ผ่านมา 50 ปี ท่านมหาริชีได้รื้อฟื้นศาสตร์อื่นๆอีกมากมายจากคัมภีร์พระเวท (หนึ่งในประเพณีที่เก่าแก่ที่สุดในโลก) หนึ่งในนั้นที่โลกให้ความสนใจอย่างมากก็คือศาสตร์ทางด้านอายุรเวท
ในปี ค.ศ. 2000 ท่านมหาริชีได้ก่อตั้งองค์กรระดับโลก Global Country of World Peace เพื่อนำความรู้และเทคนิค TM ที่มีผู้คนให้ความสนใจเพิ่มมากขึ้น เป็นองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสันติภาพของโลก ปัจจบันผู้นำองค์กรนี้คือ มหาราชา Adhiraj Rajaraam ซึ่งท่านก็เป็นนักวิทยาศาสตร์ ท่านหนึ่งเช่นกัน ชื่อสามัญคือ Dr.โทนี่ เนเดอร์ (Tony Nader) ผลงานที่สำคัญของท่านคือ การได้ค้นพบความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างของวรรณกรรมพระเวท และโครงสร้างของสรีระร่างกายมนุษย์
วิดีโอชุดนี้เป็นรายการในอดีตจากสถานีโทรทัศน์แห่งชาติประเทศแคนาดา ท่านมหาริชีได้ให้รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ TM